
อาชีพโปรแกรมเมอร์เป็นอีกหนึ่งสายงานที่มีความหนักมากในอาชีพของพวกเค้าเอง การต้องจัดการกับปัญหามากมายที่เกิดขึ้นกับคอมพิวเตอร์ เครื่องเซิฟเวอร์และ อุปกรณ์อีกมากมายในสำนักงานไม่ใช่เรื่องง่ายนัก ซึ่งการจัดการสิ่งเหล่านั้นได้ โปรแกรมเมอร์ต้องรู้จักคำสั่งเพื่อจัดการมันได้ตามต้องการ ส่วนใหญ่เครื่องมือหลายตัวเลือกใช้ระบบปฏิบัติการ Linux ทำให้โปรแกรมเมอร์ต้อง รู้จักคำสั่งเบื้องต้นเพื่อจัดการมัน ว่าแต่คำสั่งเบื้องต้นมีอะไรบ้าง
คำสั่ง Is
คำสั่งแรกที่ถือว่าเป็นคำสั่งไม้ตายสำคัญของการทำงานบนระบบปฏิบัติการ Linux เลยก็ว่าได้ นั่นคือคำสั่ง Is (เวลาพิมพ์ พิมพ์ ไอตัวใหญ่ และ เอสตัวเล็ก) คำสั่งนี้ย่อมาจากคำว่า list จะทำหน้าที่แสดงข้อมูลของไดเรกทอรีนั้นออกมา (ใครที่เลยเล่น dos มาก่อนมันจะทำหน้าที่เหมือนกับคำสั่ง dir) ทีนี้พอกดคำว่า Is ไปแล้วตามด้วย เงื่อนไข (option) แล้วก็ เอกสารที่ต้องการหา (file) โดยเงื่อนไขจะมีทั้งหมด 3 แบบด้วยกันคือ –I หมายถึงการแสดงข้อมูลแบบเต็มรูปแบบ สอง –a จะแสดงแฟ้มข้อมูลทั้งหมด และ –F จะแสดงหลังไดเรกทอรี่ วิธีการใช้ Is –I, Is –aI เป็นต้น
Cp
คำสั่งนี้ไม่ได้หมายถึง สินค้าอะไรทั้งนั้น มันมาจากคำว่า copy เป็นคำสั่งที่ทำหน้าที่คัดสำเนาแฟ้มข้อมูลตามที่เราต้องการ (ทำหน้าที่คล้ายกับวิธีการ copy ของ dos) วิธีใช้คำสั่งก็คือ copy source target (เป้าหมายในการก็อป)
คำสั่ง chmod
คำสั่งนี้ย่อมาจากคำว่า Change Mode ทำหน้าที่เปลี่ยนระบบการเข้าถึงไฟล์ หรือ แฟ้มข้อมูลปลายทางที่เราต้องการ โดยเราสามารถกำหนดสิทธิ์ได้สองแบบก็คือ กำหนดโดยใช้ชื่อย่อของกลุ่ม กับ กำหนดโดยการใช้เลขฐานสอง อย่างเช่น เราต้องการกำหนดให้กลุ่มที่ชื่อว่า market สามารถแก้ไขในเอกสารชุดนั้นได้ เราก็จะเขียนคำสั่งได้เป็นว่า chmod mar – rwx test1 แบบนี้ก็จะทำให้คนที่อยู่ในกลุ่ม market หรือ mar สามารถอ่านเขียน แก้ไขได้ คนอื่นทำได้แค่อ่านอย่างเดียวเป็นต้น
Mkdir
คำสั่งนี้ก็แปลงมาจากพื้นฐานอย่าง dos อีกเช่นกัน ย่อมาจากคำว่า make directory แปลว่าเป็นคำสั่งที่ใช้สร้างไดเรกทอรี่ขึ้นมาเพื่อทำงาน วิธีการเขียนคำสั่งก็คือ mkdir [option] [file] ซึ่งตัว option จะมีสองตัวก็คือ –m หมายถึงจะทำการกำหนด permission อีกหนึ่งคือ –p จะเป็นการสร้าง Parent directory แทน ตัวอย่าง mkdir /list หรือจะเป็น mkdir –p /test1/user เป็นต้น
จะเห็นว่าคำสั่งที่ยกมาแนะนำของ Linux ไม่ง่ายเลย เพราะนอกจากจะต้องจดจำความหมายของแต่ละคำสั่งแล้วเรายังต้องจำรายละเอียดปลีกย่อยของแต่ละคำสั่งนั้นอีกเพื่อให้การทำงานเป็นไปตามที่เราต้องการให้มากที่สุด ดังนั้นใครคิดจะเดินทางบนโปรแกรมเมอร์ Linux ก็คงต้องศึกษา ฝึกฝีมือกันหน่อยเพื่อให้การออกหน้างานแก้ไขปัญหาจะทำได้ดีขึ้น